วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่1

 

                   
                                     

          สรุปบทความ

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนปฐมวัยในช่วงโควิด-19


สรุปแนวทางจัดการเรียนรู้ที่บ้าน  :

ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้บ้านเป็นฐานในการเรียนการสอนเด็กเล็ก โรงเรียน ครูประจำชั้น พ่อแม่ ต้องทำงานร่วมกัน โดยมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

1.โรงเรียนและครูประจำชั้นยังคงเป็นผู้สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ (เพราะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กมากที่สุด)

2. ครูประจำชั้น มีหน้าที่สนับสนุนพ่อแม่และเด็ก ดังนี้

2.1)  วางแผนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงโดยปรับแผนให้เหมาะสำหรับการสอนที่บ้าน (ต้องคำนึงว่า พ่อแม่เป็นผู้ดูแลลูก + ลูกมีจำนวน 1 คน ไม่ใช่เด็กทั้งห้อง + ระยะเวลาของกิจกรรมไม่เหมือนในห้องเรียน)

2.2) ส่งแผนการสอนประจำสัปดาห์และแนะนำวิธีทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กให้พ่อแม่ทุกวันศุกร์ (เพื่อให้พ่อแม่มีเวลาศึกษาข้อมูลและสอบถาม ในวันเสาร์อาทิตย์)

2.3 ครูประจำชั้นอาจมีการไลฟ์สดหรือทำคลิปทักทายเด็ก ชวนเด็กออกกำลังกาย สวดมนต์ ทุกเช้า เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเด็กและลดภาระงานของพ่อแม่

2.4) ครูประจำชั้นเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านโครงงานโดยมีทุกครอบครัวทำโครงงานเดียวกัน และนำความคืบหน้ามาแชร์กัน (อาจจัดประชุมออนไลน์พูดคุยดูความคืบหน้าร่วมกันในแต่ละครอบครัว)

 2.5 ครูประจำชั้นต้องส่งรายการอุปกรณ์ที่ต้องใช้ประจำสัปดาห์หรือส่งอุปกรณ์จริงที่ต้องใช้เป็นสื่อการสอนให้พ่อแม่

 2.6 ครูประจำชั้นต้องใช้ความเชี่ยวชาญช่วยพ่อแม่ในการประเมินพัฒนาการเด็กและหาวิธีส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการและการเรียนรู้ที่เหมาะสม

 3. พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูของเด็ก มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ให้เด็ก ดังนี้

3.1) จัดพื้นที่เฉพาะ จุดใดจุดหนึ่งในบ้านเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ (เป็นห้องเรียนสมมติ) เช่น พื้นที่นี้อาจเป็นที่นอนตอนกลางคืน แต่เมื่อถึงเวลาเรียน แค่เรานำโต๊ะพับมาวาง พื้นที่ตรงนี้ก็จะสมมติว่ากลายเป็นห้องเรียน (เป็นการทำให้เด็กรู้บทบาทหน้าที่ว่าตอนนี้เป็นเป็นเวลาเรียน) โดยพ่อแม่จะใช้พื้นที่นี้เป็นจุดในการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยสาระ (ที่ครูจัดแผนการสอนมา)

 3.2) จัดมุมเล่นอิสระ เพื่อให้เด็กเข้าไปเลือกเล่นในมุมที่ตนเองสนใจในช่วงที่พ่อแม่ปล่อยให้เรียนรู้เองผ่านการเล่น  ซึ่งตัวอย่างของมุมที่จัดให้เด็กเล่น ได้แก่ มุมบล็อกไม้  มุมบ้าน (เพื่อเล่นบทบาทสมมติว่าอยู่ในบ้านน้อยของตัวเอง)  มุมหนังสือ  มุมวิทยาศาสตร์  มุมน้ำมุมทราย  มุมส่งเสริมภาษา  มุมดนตรี

 3.3) ทำโครงงานร่วมกับครอบครัวอื่น ๆ โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางและมีครูเป็นตัวกลางในการประสานทุกครอบครัวเข้าด้วยกัน

 3.4) การจัดประสบการณ์เพิ่มทักษะชีวิตและความเข้าใจโลกจากประสบการณ์จริง ซึ่งสามารถจัดประสบการณ์ให้เด็กได้หลายวิธี เช่น ให้ช่วยคุณแม่ทำอาหาร ทำงานบ้าน หรือ พาเด็กออกไปนอกบ้าน (อย่างปลอดภัย)

 3.5) การเลือกคอร์สออนไลน์และอาจารย์พิเศษที่เหมาะสมให้ลูก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในเรื่องที่ลูกขาด

 3.6) คัดสรรคลิปวิดีโอ ซึ่งอาจเป็นสารคดี บันเทิงคดี หรือการ์ตูน เพื่อใช้ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของลูก

 3.7) พ่อแม่ต้องสังเกตพฤติกรรมในการทำกิจกรรมและความสนใจของลูกแล้วรายงานครู เพื่อประเมินพัฒนาการของลูกร่วมกัน

 หมายเหตุ 1 :

การจัดการเรียนรู้ อาจแบ่งเป็นช่วงเช้าและช่วงบ่าย โดยช่วงเช้าดำเนินการตามแผนการสอนของครูประจำชั้นและใช้มุมอิสระในการส่งเสริมการเรียนรู้ ส่วนภาคบ่ายหลังเด็กตื่นนอน อาจเป็นช่วงเวลาของการใช้สื่อเสริมออนไลน์และอาจารย์เฉพาะทาง

 




 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

  วันที่16/11/63 วันนี้อาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบให้นักศึกษา และให้นักศึกษาเขียนวัตถุประสงค์ของแผนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิ...