วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

 วันที่16/11/63





วันนี้อาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบให้นักศึกษา และให้นักศึกษาเขียนวัตถุประสงค์ของแผนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเคลื่อนไหว กิจกรรมศิลปะ กิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมกลางแจ้งและกิจกรรมเสรี อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนวัตถุประสงค์ต่างๆโดยห้ามหาจากเน็ต ให้เขียนตามความรู้เดิมที่เรามี และอาจารย์ยังกำหนดกิจหรรมต่างๆขึ้นมาแล้วให้นักศึกษาคิดว่ากิจกรรมนี้ นำไปใช้เขียนแผนอย่างไรได้บ้าง หรือวิธีการสอนแบบจับคู่ สามารถนำไปทำกิจกรรมอะไรได้บ้าง โดยกิจกรรม หลัก 6 กิจกรรม ประกอบไปด้วย


กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง
3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้
5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน




ประเมิน
ตนเอง  ฉันสามารถเขียนเนื้อหาที่อาจารย์กำหนดมาให้ได้แต่บางกิจกรรมอาจเขียนไม่ครบละเอียดพอ
อาจารย์  ได้ฝึกให้เราใช้ความรู้ที่มีที่เราเคยเรียนมาและอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เราเข้าใจยิ่งขึ้น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันที่9/11/63





การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้ตรวจแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม ว่ามีขจ้อผิดพลาดหรือมีสิ่งไหนที่ยังทำไม่ถูกต้อง แนะนำแก้ไขให้มันดีขึ้น แต่กลุ่มก็จะมีข้อติต่างกันออกไป ของกลุ่มดิฉัน มีข้อต้องปรับปรุงหลายอย่าง พิมพ์ผิด ข้อความตกหล่น และแผนส่วนตัวของดิฉันต้องแก้ไขขั้นนำ และใส่ผังรวบรวมความรู้ของเด็ก



ประเมิน

ตนเอง  ฉันฟังข้อแนะนำและปฏิบัติตามเพื่อแก้ไขแผนที่เขียนให้ดียิ่งขึ้น

อาจารย์  ให้ข้อแนะนำได้ดีอธิบายการเขียนแผนให้อย่งละเอียด



วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันที่2/11/63


       



สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษา นำโบชัวร์มาเพื่อทำหนังสือคำศัพท์ 

โดยมีอุปกรณ์ ดังนี่้

1.กระดาษ A4 

2.โบชัวร์

3.กรรไกร

4.กาว

5.ปากกาเคมี

ขั้นตอนการทำ

1.สังเกตดูว่าในโบชัวร์ที่นำมานั้น สามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่อะไรได้ เช่น หากมีรูปของกินเยอะ อาจจะให้เป็นหมวดของกิน ถ้ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็ให้เป็นหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.ตัดรูปภาพตามหมวดที่เรากำหนดขึ้น เช่น หมวดของกิน ก็ตัดแต่รูปของกิน

3.เมื่อเราได้รูปภาพแล้ว ก็เริ่มแปะลงในกระดาษ โดยในการแปะนั้นก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ความพอดี และความสวยงาม โดยเว้นขอบกระดาษ รูปภาพต้องอยู่บนคำศัพท์ 

4.หากเป็นหมวดของกิน ให้เขียนว่า ฉันชอบกิน...โดยมีรูปภาพพร้อมคำศัพท์ 

5.คำศัพท์ที่เขียนนั้น ควรเป็นปากกาที่สีแตกต่าง เช่น ฉันชอบกิน ซาลาเปา (ใช้ปากกาเน้นสีเพื่อให้เด็กรู้คำศัพท์)

6.ในหน้าสุดท้ายควรมีข้อควรระวังในแต่ละหมวด

7.จากนั้นทำการรวมเล่ม


                                                               ภาพ ผลงานของกลุ่มฉัน













ประเมิน
ตนเอง  ฉันตั้งใจทำงานรวมถึงเพื่อนๆในกลุ่มเรามีการแบ่งหน้าที่การทำงาน
อาจารย์  หากิจกรรมมาให้พวกเราทำ เป็นการใช้วัสดุเหลือใช้





บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันที่ 26/10/63





สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำอุปกรณ์มาประดิษฐ์ตามหน่วยการเรียนรู้ โดยสิ่งที่ประดิษฐ์นั้นต้องมีความเป็น STEM และในการประดิษฐ์นั้น จะไม่ได้ทำของกลุ่มตนเอง ต้องทำของกลุ่มเอง เช่น หน่วยผีเสื้อต้องไปทำของหน่วยรักเมืองไทย ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ได้จัดอุปกรณ์ไว้ให้เพื่อนๆทำ ผีเสื้อ โดยให้มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของแรงโน้มถ่วงโลก โดยให้เพื่อนเลือกวัสดุในการทำปีก ได้แก่ ใบไม้ กระดาษ ถุงพลาสติก แล้วให้ลองโยนจากที่สูงจากนั้น สังเกตแล้วจดบันทึกว่า วัสดุชนิดใดที่ตกลงสู่พื้นช้าที่สุด และทำข้อสรุป

อุปกรณ์ทำผีเสื้อ

1.กระดาษ   2.ใบไม้      3.ถุงพลาสติก     4.หลอด      5.กรรไกร     6.สี      7.กาว




ในส่วนของกลุ่มดิฉันนั้นได้ไปทำกิจกรรมของกลุ่ม รักเมืองไทย เป็นการจัดกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญนั่นคือ การทำกระทงจากอาหารปลา 

อุปกรณ์ทำกระทง

1.อาหารปลา    2.ฟองน้ำชุบน้ำ    3.สี      4.กระดาษ      5.ธูปเทียน

ขั้นตอนการทำ

1.ร่างแผนการทำขึ้นมาก่อนว่าเราต้องการทำกระทงรูปแบบใดเพื่อเป็นแนวทาง ต้องใช้อาหารปลาสีอะไร ใช้เท่าไหร่

2.จากนั้นทำตามแบบโดยการนำอาหารแตะที่ฟองน้ำชุบน้ำแล้วนำมาติดกัน

3.เมื่อเสร็จแล้วนำธูปเทียนมาปักให้เรียบร้อย

จากนั้นต้องมาทดลองเพื่อหาข้อสรุป ว่ากระทงที่ทำจากอาหารปลานั้นจะสามารถลอยได้หรือไม่







ผลสรุป การที่กระทงสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัสดุหรือสิ่งที่เรานำมาใช้ในการทำกระทงนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมาซึ่งก็คือ แรงลอยตัวหรือแรงพยุง นั่นเอง โดยแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ ยิ่งถ้ากระทงมีปริมาตรหรือพื้นที่ผิวสัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่ ความหนาแน่นของกระทงจะยิ่งลดลง แรงลอยตัวหรือแรงพยุงก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น กระทงจึงสามารถลอยตัวอยู่บนผิวน้ำได้ 
 สำหรับSTEM ได้แก่
S เรื่องแรงลอยตัวหรือแรงพยุง
T อุปกรณ์ที่นำมาใช้ได้แก่ อาหารปลา ธูป เทียน ฟองน้ำชุบน้ำ
E การออกแบบรูปทรงของกระทง
M จำนวนอาหารปลาที่ใช้ในการทำกระทรง รูปร่าง รูปทรง




ปรเมิน
ตนเอง  ฉันได้ทดลองทำกิจกรรมและได้รู้จักขั้นตอนการทำงาน แบบ   STEM มากขึ้น
อาจารย์  เป็นผู้ชี้แนะคอยแนะนำพวกเราในการทำกิจกรรมต่างๆ







บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วันที่ 19/10/63



สัปดาห์นี้เป็นการนำเสนอ วีดีโอการสอนของนักศึกษาและเพื่อนๆช่วยกันวิเคราะห์

โดยการสอนนั้นจะต้องประกอบไปด้วยขั้นต่างๆ ดังนี้

ขั้นนำ (introduction)

ขั้นสอน (body)

ขั้นสรุป (conclusion)
ขั้นประเมินผล (assessment)

4 ขั้นตอนนี้นำมาใช้เป็นขั้นตอนในการนำเสนอเหตุการณ์การเรียนการสอนของกานเย และวิเคราะห์ลักษณะของ
เหตุการณ์การเรียนการสอน ตามลักษณะบทบาทของผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
แบบที่ 1 เป็นแบบที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายริเริ่มหรือเป็นผู้มีบทบาทนำ โดยผู้เรียนเป็นผู้สืบสอบค้นพบ
ความรู้ด้วยตนเอง (exploratory) หรือแบบที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (student-center)
แบบที่ 2 เป็นแบบที่ผู้สอนเป็นฝ่ายริเริ่มหรือเป็นผู้มีบทบาทนำในการเสนอการเรียนการสอน
โดยใช้การบอก อธิบายให้แก่ผู้เรียน (expository) หรือแบบที่ครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (teacher-center)
แบบที่ 3 เป็นแบบที่ผู้สอนและผู้เรียนมีบทบาทร่วมกันในเหตุการณ์การเรียนการสอน
ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนนอกจากจะคำนึงถึงขั้นตอนในการนำเสนอกิจกรรมการเรียน
การสอนว่ามีลำดับอย่างไรแล้ว

1. ขั้นนำ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ส่งเสริมความสนใจและกระตุ้น
ให้ผู้เรียนได้ระลึกถึงความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เรื่องใหม่ ซึ่งเก็บไว้ในความจำระยะยาวนำ
กลับมาสู่ความจำทำงานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้เรื่องใหม่ เหตุการณ์การเรียนการสอนในขั้นนี้
ประกอบด้วย
1) การสร้างความสนใจ ทำได้โดยการตั้งคำถามที่ดึงความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน
ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจหรือเรื่องที่เป็นประสบการณ์ใกล้ตัว ผู้สอนอาจใช้การสาธิต การนำเสนอภาพ
เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนเป็นการดึงความสนใจของผู้เรียน
2) การบอกจุดประสงค์แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้ว่าพฤติกรรมหรือการกระทำอย่างใด
ที่แสดงผลการเรียนรู้ของตนหรือเป็นสิ่งที่ผู้สอนคาดหวัง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถตั้งจุดมุ่งหมายอย่าง
ชัดเจนในการเรียนรู้ในครั้งนั้น ๆ
3) การกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงการเรียนรู้ที่มีมาก่อน เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์
ของการเรียนรู้สิ่งใหม่กับสิ่งที่ผู้เรียนรู้มาก่อน เพื่อให้การเรียนรู้สิ่งใหม่ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำ
ได้โดยการพูดคุย สนทนา การใช้คำถามกระตุ้นให้เกิดการทบทวนประสบการณ์เดิมของผู้เรียน

2. ขั้นสอน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้ดึงเอาความรู้เดิมที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สิ่งใหม่นำ
ออกมาใช้สร้างความรู้ ความเข้าใจกับสารสนเทศใหม่ที่ได้รับ เหตุการณ์การเรียนการสอนในขั้นนี้
ประกอบด้วย
1) การนำเสนอความรู้และสื่อการเรียนรู้ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีเช่น การสาธิต การ
นำเสนอตัวอย่าง การบอกเล่าโดยตรง การให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบ ในการนำเสนอความรู้อาจใช้วิธีอุปนัยหรือ
วิธีนิรนัย ถ้าเป็นการเรียนรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นรูปธรรมควรใช้วิธีอุปนัย โดยให้นักเรียนได้เห็นตัวอย่าง
หลากหลายแล้วสรุปความหมายของสิ่งนั้นด้วยตนเอง แต่ถ้าเป็นเรื่องนามธรรมควรใช้วิธีนิรนัย และ
อาจนำเสนอด้วยภาพหรือแผนภูมิ
2) การนำเสนอและชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ถ้าเป็นเรื่องใหม่ที่ผู้เรียนไม่
เคยรู้มาก่อนก็จำเป็นต้องบอกโดยตรง ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสามารถค้นพบได้ด้วยหลักเหตุผล ผู้สอนก็
อาจนำเสนอความรู้โดยวิธีให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ นอกจากนี้ผู้สอนควรคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน
ผู้เรียนบางคนต้องการการชี้แนะจากผู้สอนมากและบางคนก็ไม่ต้องการการชี้แนะ ดังนั้นผู้สอนจึงควรใช้
วิจารณญาณในการดำเนินการ
3) การให้ผู้เรียนปฏิบัติและฝึกฝนจากแบบฝึกหัดหรือตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความ
เข้าใจอย่างถ่องแท้
4) การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน ข้อมูลป้อนกลับที่ให้กับผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายแบ่งได้
2 ประการ คือ ประการแรกมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียนให้เกิดความมั่นใจในการเรียนรู้
และจุดมุ่งหมายประการสุดท้ายเพื่อให้สารสนเทศเกี่ยวกับผลการปฏิบัติของผู้เรียนว่าถูกต้องหรือไม่
อย่างไร ช่วยให้ผู้เรียนทราบความก้าวหน้าของการปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมหรือไม่ ผลที่
เกิดขึ้นเป็นอย่างไร และชี้ให้เห็นแนวทางที่จะปรับปรุงแก้ไข

3. ขั้นสรุป จุดมุ่งหมายในขั้นนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้สรุป และทบทวนความรู้ที่ได้รับว่าเพิ่มขึ้น
จากเดิมหรือไม่อย่างไร จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างไร เหตุการณ์การเรียน
การสอนในขั้นนี้ประกอบด้วย
1) การรวบรวมและสังเคราะห์สิ่งที่เรียนรู้ใหม่ เทคนิควิธีที่จะช่วยในการสรุปความรู้ที่
นิยมใช้กัน ได้แก่ การใช้ผังกราฟิก (graphic organizer) คือ แบบของการสื่อสารเพื่อใช้นำเสนอข้อมูล
หรือความรู้ที่ได้จากการรวบรวมอย่างเป็นระบบ ให้มีความเข้าใจง่าย กะทัดรัด ชัดเจน ผังกราฟิกได้มา
จากการนำข้อมูลดิบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาทำการจัดกระทำข้อมูลโดยอาศัยทักษะการคิด เช่น การสังเกต
เปรียบเทียบ การแยกแยะ การจัดประเภท การเรียงล าดับ การใช้ตัวเลข การวิเคราะห์ การสร้างแบบแผน
จากนั้นจึงมีการเลือกผังกราฟิกเพื่อนำเสนอข้อมูลที่จัดกระทำแล้วตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ผู้
นำเสนอต้องการ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2544) ผังกราฟิกที่นิยมใช้มีหลายรูปแบบ เช่น
(1)แผนผังใยแมงมุม (web) เหมาะส าหรับการคิดแบบโยงความสัมพันธ์ เพื่อให้เห็น
ความสัมพันธ์ของความคิดที่เกี่ยวข้องซึ่งแยกย่อยออกไปได้มากมาย ก่อนที่จะนำมาจัดกลุ่มหรือจัด
ประเภทของความคิด ใช้สำหรับการนำเสนอความคิดที่เกิดจากการระดมสมอง
(2) แผนผังความคิด (mind map) เหมาะสำหรับการสรุปความคิดรวบยอดที่
สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เป็นโครงสร้างทางความคิดที่ประกอบด้วยความคิดหลักเป็นศูนย์กลางซึ่ง
ประกอบด้วยความคิดรอง และความคิดย่อยที่แตกแขนงจากความคิดรองออกไป ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันเป็นเครือข่าย เช่น แผนผังของอาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งแต่ละหมู่ยังประกอบด้วยอาหาร
ชนิดต่าง ๆ อีกหลายชนิด
(3) แผนผังแสดงการคิดแบบวงจร (circle) เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลที่เป็น
กระบวนการต่อเนื่องเป็นวงจร เช่น วงจรการเกิดฝน วงจรชีวิตของยุง เป็นต้น
ยังมีรูปแบบของผังกราฟิกอีกหลายรูปแบบที่ผู้สนใจสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ
ลักษณะของข้อมูลและจุดประสงค์ในการนำเสนอ
2) การส่งเสริมให้นักเรียนจดจำความรู้และถ่ายโอนความรู้ โดยให้นักเรียนนำความรู้ไป
ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากแบบฝึกหัด
4. ขั้นประเมินผล จุดมุ่งหมายในขั้นนี้เพื่อให้ผู้สอนรู้ว่าผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ตามที่
คาดหวังไว้หรือไม่ และเป็นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอนเพื่อซ่อมเสริมหรือดำเนินการปรังปรุงแก้ไข



ภาพ บรรยากาศดูวีโอเพื่อนๆภายในห้องเรียน


 





ประเมิน
ตนเอง ฉันตั้งใจดูเพื่อนๆดูวีดีโอที่เพื่อนนำเสนอ และเห็นข้อผิดพลาดของแต่ละคนที่ยังต้องมีปรับแก้และ
ได้เห็นข้อบกพร่องตนเอง
อาจารย์ ให้คำแนะนำที่ดีบอกข้อบกพร่องของแต่ละคนเพื่อให้เราได้ปรับแก้


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วันที่ 12/10/63





อาจารย์มีกิจกรรม STEM มาให้นักศึกษาได้ทำ คือ การทำสไลเดอร์ โดยต้องมีการไหลของวัตถุที่ช้าที่สุด
อุปกรณ์ มีดังนี้

1. หลอดจำนวน 25 แท่ง
2. เทปใส
3. ดินน้ำมัน (คือวัตถุที่เคลื่อนไปบนหลอด)
4. กระดาษไว้สำหรับออกแบบโครงร่างหลอด







                                               ภาพการทำกิจกรรมในห้องเรียน









STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วครูหลายสาขาร่วมมือกัน
- Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry) 
-Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
-Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
-Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์




ประเมิน
ตนเอง ฉันและเพื่อนๆในกลุ่มช่วยกันคิดหาวิธีที่จะทำให้ดินน้ำมันอยู่บนหลอดได้นานที่สุด
อาจารย์ หากิจกรรมที่หลากหลายมาให้นักศึกษาได้ฝึกและใช้ทักษะการคิดมากขึ้น








บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

  วันที่16/11/63 วันนี้อาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบให้นักศึกษา และให้นักศึกษาเขียนวัตถุประสงค์ของแผนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิ...