วันที่14/09/63
การจัดศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย ศิลปศึกษาเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กในวัยปฐมวัย เพราะประสบการณ์ทางศิลปะนั้น
ไม่เพียงส่งเสริมการริเริ่มสร้างสรรค์เท่านั้น หากยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กในลักษณะบูรณาการ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าการจัดประสบการณ์และ
กิจกรรมในลักษณะนี้มีคุณค่าและเอื้อต่อเด็กมากที่สุด ประสบการณ์ศิลปะส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็ก ดังนี้ - พัฒนาการทางด้านร่างกาย : พัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก
และพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ - พัฒนาการทางด้านสังคม : มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้จากกันและกัน (cooperative learning) แลกเปลี่ยนและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การรู้จักแบ่งปัน - พัฒนาการทางด้านอารมณ์-จิตใจ : สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง (confidence) เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเอง (self- esteem) การคิดดีและชื่นชมในผลงานของผู้อื่น สร้างวินัยและความรับผิดชอบ มีสุนทรียภาพ - พัฒนาการทางด้านสติปัญญา : มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ รู้จักแก้ปัญหา ทำงานแบบมีระบบ (วางแผน ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ) รู้จักคิดและชี้แจงเหตุผล สังเกต และเปรียบเทียบ
ใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุหรือประสบการณ์ในการสื่อความหมาย
(ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในพัฒนาการทางด้านการคิดของเด็ก)
มีทักษะทางด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ การจัดประสบการณ์ทางด้านศิลปะ 1. จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์
ให้พร้อม และพอเพียงต่อความต้องการ ของนักเรียน ในการเตรียมสถานที่นั้น คุณครูควรจัดเนื้อที่ให้นักเรียนทำงานและเคลื่อนไหวได้สะดวก
และปลอดภัย อุปกรณ์ที่จัดให้ควรมีเพียงพอต่อนักเรียน
เช่น ถ้ามีนักเรียน 5 คนที่วาดรูปด้วยสีโปสเตอร์ คุณครูควรที่จะเตรียมพู่กัน 5 อัน
และจัดสี 1 ชุด ต่อนักเรียน 1-2 คน เพื่อที่เด็กจะได้ไม่ต้องรอคิวนาน และรีบเร่งทำงานเพื่อที่จะแบ่งอุปกรณ์ให้กับเพื่อนที่รออยู่ หากในห้องเรียนมีอุปกรณ์น้อย คุณครูควรที่จะกำหนดจำนวนนักเรียนที่จะเข้าร่วมในกิจกรรม และใช้วิธีผลัดกัน 2. กิจกรรมที่จัดควรเป็น
กิจกรรมปลายเปิด เช่น ระบายสีด้วยสีเทียน และสีโปสเตอร์ตามอิสระ
เพื่อที่นักเรียนจะได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ด้วยตนเอง มีอิสระในการสร้างสรรค์ ใช้ความคิดได้อย่างเต็มที่ รู้จักที่จะเลือกและตัดสินใจ (เลือกว่าจะวาดอะไร)
และเรียนรู้ที่จะสื่อความคิดตนออกมาในรูปแบบที่ตนต้องการ 3. กิจกรรมที่จัดควรมีความ
เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ (Developmental Appropriate) ในการจัดกิจกรรม คุณครูควรคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียน กิจกรรมศิลปะควรมีความเหมาะสมต่อความ สามารถของเด็กในวัยนั้น ๆ กิจกรรมบางอย่างถึงแม้ว่าเป็นกิจกรรมศิลปะให้เด็ก แต่มันอาจจะไม่เหมาะกับเด็กในวัยปฐมวัย เช่น การพับกระดาษเป็นรูปต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ (origami) จัดว่าไม่เหมาะสมสำหรับเด็กในวัยปฐมวัย เนื่องจากมีขั้นตอนหลายขั้นและซับซ้อน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องทำตามรูปแบบที่กำหนดขั้นโดยดูครูเป็น
ตัวอย่าง และนักเรียนส่วนมากไม่สามารถทำทุกขั้นตอนได้ด้วยตนเอง และต้องรับ ความช่วยเหลือจากครูเกือบตลอดเวลา ซึ่งบางทีครูกลายเป็นคนพับเสียเอง การที่นักเรียนส่วนมากต้องการความช่วย
เหลือตลอดกิจกรรมนั้น แสดงให้เห็นว่า
พัฒนาการของเด็กยังไม่พร้อมที่เขาจะทำงานประเภทนี้ได้ 4. Process not
product คุณครูควรเน้นที่กระบวนการมากกว่าผลงาน ระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรมศิลปะ เขาได้ใช้กระบวนการการคิดต่าง
ๆ เพื่อที่จะสื่อความรู้สึกนึกคิดลงบนกระดาษ การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ผลงานเป็นเพียงผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน 5. ตั้งความคาดหวังให้เข้ากับ
วัยของนักเรียน เป็นเรื่องปกติที่คุณครูจะคาดหวังในนักเรียนของตน หากแต่ความคาดหวังที่ตั้งขึ้นนั้น ควรมีความเหมาะสมกับวัย เช่น เด็กวัย 3 ปี
ยังเป็นช่วงเวลาที่เด็กเริ่มสนใจและเรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์เครื่องเขียน ต่าง
ๆ กล้ามเนื้อมือนั้นยังไม่ แข็งแรงพอ ที่จะบังคับทิศทางของอุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่วแม่นยำ
การที่คุณครูคาดหวังให้เด็กในวัยนี้ ระบายสีโดยไม่ออกนอกเส้น หรือวาดรูปเป็นรูปร่างเจาะจงนั้น คุณครูสร้างความคาดหมายที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในวัยนั้น ดังนั้นในการที่ครูจะรู้ว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้เหมาะสม ครูต้องมีความเข้าใจและความรู้เรื่องพัฒนาการของผู้เรียนของตน และมีความรู้เรื่องการจัดกิจกรรมศิลปะ เพื่อที่จะตั้งเป้าหมายและความหวังให้เข้ากับผู้เรียน 6. ให้ความสนใจและคุณค่าต่อ
กระบวนการทำงานและผลงานของนักเรียน ซึ่งทำได้โดย
พูดคุยกับนักเรียน และมีการนำเสนอผลงาน การที่คุณครูนำเสนอผลงานของนักเรียน โดยการติดไว้ในที่บอร์ดในห้อง
บ่งบอกให้นักเรียนรับรู้ว่า งานของเขามีคุณค่า ซึ่งจะทำให้เขาจะรู้สึกชื่นชมและภูมิใจในความสามารถของตน การพูดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจของครูที่มีต่อการทำงานของ
นักเรียน ซึ่งเฌอเม็คเคอร์ (1986) แนะนำว่าในการสนทนากับเด็ก
คุณครูควรให้เด็กพูดและแสดงความคิดเห็นของตนโดยที่ครูไม่ควรที่จะเปรียบ เทียบ
หรือแก้ไขผลงานของเด็ก และแนะนำว่า เวลาพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับงานศิลปะ ครูควรพูดถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ และการใช้องค์ประกอบทางศิลปะ
(elements of art) ในการวาดภาพ เช่น การใช้สี
วิธีการวาดลายเส้น รูปทรง การจัดวางช่องว่างและใช้เนื้อที่ (space) เป็นต้น (Schirrmacher, 1986) ตัวอย่าง
เช่น “ในภาพนี้ คุณครูสังเกตว่า มีเส้นหลายชนิด มีเส้นตรงข้างบน เส้นโค้งบนมุมขวามือ
...” “หนูใช้ความพยายามมากเลยในการตัดกระดาษให้เป็นสามเหลี่ยมอันเล็ก
ๆ” “ครูสังเกตว่าเวลาหนูวางขนแปรงให้แบนบนกระดาษและลากเส้นลงมา
เส้นที่ออกมาจะหนา” เป็นต้น การที่ครูพูดถึงงานของเด็กในลักษณะนี้ เป็นการส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา และแสดงให้เด็กเห็นว่าตัวครูมีความสนใจในกระบวนการทำงาน
และให้คุณค่าต่องานของเขา ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจในตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถและทักษะของตน 7. สนทนากับนักเรียน
เรื่องการดูแลรักษา การใช้อุปกรณ์ และกติกาในการปฏิบัติกิจกรรม ในระยะเริ่มต้น ก่อนที่จะทำกิจกรรม ครูควรที่จะพูดคุยให้เหตุผลกับนักเรียนเกี่ยวกับการดูแลรักษาอุปกรณ์ เช่น การที่จะให้นักเรียนทำการตัดแปะ ครูอาจจะพูดและสาธิตให้นักเรียนดูว่า เมื่อใช้กรรไกรเสร็จแล้ว ควรเก็บไว้ในตะกร้าเหมือนเดิม หรือใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียน
เช่น ถ้าครูเห็นนักเรียนเหยียบกรรไกร คุณครูควรอธิบายให้เด็กเข้าใจว่าทำไมไม่ควรเหยียบ และสอนให้นักเรียนรู้จักช่วยกันรักษาสมบัติของห้องเรียน 8. กำหนดเวลาให้เหมาะสม กิจกรรมศิลปะควรจัดให้เป็นกิจกรรมประจำวัน
เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เด็กให้ความสนใจมาก และเป็นส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และทักษะทางด้านต่าง ๆ ซึ่งในการจัดกิจกรรม
ครูควรตั้งเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรม การที่ครูตั้งเวลาไว้น้อย
และเร่งเด็กให้ทำงานเสร็จภายในเวลาอันสั้นนั้น สิ่งที่สื่อออกมา คือ กระบวนการทำงานนั้นไม่สำคัญเท่าการทำให้เสร็จในเวลา ดังนั้น เด็กก็จะรีบทำงานให้ เสร็จ ๆ ไป และไม่ใส่ใจในการทำงาน เป็นปกติที่เด็กแต่ละคนจะใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมแตกต่างกัน ดังนั้นคุณครูควรมีความยืดหยุ่นในเวลา ถ้านักเรียนทำงานไม่เสร็จ คุณครูอาจจะให้เวลาเพิ่มเติม หรือให้เขาเก็บงานไว้ทำในวันต่อไป 9. ให้นักเรียนมีส่วนร่วม
(Students’ Involvement) นักเรียนควรมีส่วนร่วมในการจัดเตรียม
และทำความสะอาด เช่น ช่วยหยิบและเก็บกระดาษ และตะกร้าใส่ดินสอสี หรือช่วยเช็ดโต๊ะ เพื่อที่เขาจะได้รู้จักการช่วยเหลือตนเอง และเข้าใจถึงหน้าที่และรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และห้องเรียน ในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างหลากหลายรูปแบบ เช่น - กิจกรรมวาดภาพระบายสี ระหว่างทำกิจกรรมศิลปะ ครูต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น แสงสว่างพอเหมาะ มีเสียงดนตรีเบา ๆ บรรยากาศผ่อนคลาย ทำให้เกิดการเชื่อมโยงสมองส่วนประสาทสัมผัสกับสมองส่วนที่คุมกล้ามเนื้อพร้อม ๆ กัน การเชื่อมโยงสมองซีกซ้ายเข้ากับซีกขวาที่เป็นด้านจินตนาการ ดังนั้น งานศิลปะจึงไม่ควรเป็นการลอกเลียนแบบหรือต้องทำให้เหมือนจริง รวมทั้งไม่เน้นความถูกต้องของสัดส่วน แต่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม และความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กสนุกสนาน ซึมซับความงามของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีความมั่นใจ ภาคภูมิใจในผลงานของตน ควบคู่กับความสามารถถ่ายทอด ศิลปะกับความคิดสร้างสรรค์
นักจิตวิทยาทางการศึกษาทั่วโลกเชื่อกันว่าเด็กทุกคนมีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์
และสามารถพัฒนาให้เจริญงอกงามได้ตามระดับความสามารถของแต่ละบุคคล ถ้า
หากเด็กนั้นๆได้รับการเสริมและสนับสนุนให้มีการแสดงออกภายใต้
บรรยากาศที่มีเสรีภาพ สำหรับ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ในตัว
สามารถพิจารณาจากพฤติกรรมได้หลายด้านดังนี้ 1. การเป็นผู้กระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา 2. การเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยความคิดของตนเอง 3. การเป็นผู้ชอบสำรวจตรวจสอบความคิดใหม่
ๆ 4. การเป็นผู้เชื่อมั่นในความคิดของตัวเอง 5. การเป็นผู้สอบสวนสิ่งต่างๆ 6. การเป็นผู้มีประสาทสัมผัสอันดีต่อความงาม จะเห็นได้ว่าการสร้างสรรค์ คือการ เจริญงอกงามทั้งด้านความคิด ร่างกาย และ พฤติกรรม และศิลปะคือ เครื่องมือที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพราะ กระบวนการทางศิลปะไม่มีขอบเขตแห่งการสิ้นสุด สามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เด็กได้ตลอด เวลานอกจากนี้ยังช่วยให้เด็ก เกิดความคิดที่ต่อเนื่องอย่างไม่จบสิ้น และก้าวไปยังโลกแห่ง จินตนาการอย่างไม่มีขอบเขต การวาดรูประบายสี เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยในการทำงานประสานกันระหว่างมือและตา
เด็กจะ รู้จัก สี เส้น รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา
ภาพที่จะเห็นต่อไปนี้เป็นภาพ ที่วาดโดยเด็กปฐมวัยอายุ 3- 4 ขวบ เป็นภาพที่วาดตามความคิดและจินตนาการของเด็กเป็นอีก
กิจกรรมหนึ่งซึ่งช่วยใน การทำงานประสานกันระหว่างมือและตา เด็กจะรู้จัก สี เส้น
รูปทรง พื้นผิว ขนาดที่จะต้องพบในชีวิตประจำวันของเขา การปั้น การปั้นดินน้ำมันหรือ ดินเหนียว แป้งโด ฯลฯ
มาปั้นเป็นรูปต่างๆตามจินตนาการของเด็กแต่ ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไป
เป็นการฝึกสมาธิ และพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆของเด็กเด็กจะได้เรียนรู้
รูปร่างต่างๆ การเป่าสี คือการนำสีน้ำหรือสีโปสเตอร์
ผสมกับน้ำให้สีข้นพอสมควร โดยการหยดสีลงบนกระดาษ ใช้หลอดกาแฟจ่อปลายหลอดที่สี
แล้วเป่าให้สีกระจาย จะได้ภาพสวยงามหลายหลากสี การประดิษฐ์เศษวัสดุ เป็นการช่วยส่งเสริมให้เด็กเห็นคุณค่าการประยุกต์ให้เศษวัสดุใกล้ตัว ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เกิดความภาคภูมิใจต่อผลงานของตนเอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำ มีส่วนร่วมทั้งความคิด จิตใจ สมอง เกิดความประทับใจ เรียนรู้ด้วยความเข้าใจ จะทำให้เด็กค่อยๆ เกิดความคิด สร้างจินตนาการ นำไปสู่การคิดค้น การแก้ปัญหาและสร้างสรรค์งานใหม่ได้ ประเมิน ตนเอง ฉันตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมทำกิจกรรมด้วยความเต็มใจ อาจารย์ ถ่ายทอดวิชาความรู้ได้ดี |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น