วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

 วันที่28/09/63




รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย


 การสอนแบบโครงการ
              การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็กทั้งในระยะปฐมวัยจนกระทั่งชั้นประถมศึกษา

        การสอนแบบโครงการเป็นวิธีที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน แต่ก็มีความยืดหยุ่น ครูที่ใช้การสอนแบบนี้ได้อย่างเหมาะสม เด็กจะมีแรงจูงใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ทั้งนี้ โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
          1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) ในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ช่วยให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การที่เด็กได้สนทนาร่วมกันทั้งเป็นกลุ่มย่อยและทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่เด็กสนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
        เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ได้ดีหากได้สนทนาร่วมกับเพื่อนและครูเป็นกลุ่มย่อย ในบริบทที่เกิดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการสำรวจจริงๆ ครูสามารถแนะนำสิ่งต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กคิดและสร้างความรู้ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนในกลุ่มใหญ่ด้วย

          2. การทำงานภาคสนาม (Field Work) การทำงานภาคสนามในที่นี้ครูควรคิดถึงประสบการณ์ตรงที่เด็กจะได้รับจากการไปศึกษานอกสถานที่ ซึ่งจะแตกต่างจากการพาเด็กไปทัศนศึกษา การทำงานภาคสนามของเด็กไม่จำเป็นต้องพาเด็กไปนอกสถานที่เสมอไป อาจเป็นการสำรวจสิ่งปลูกสร้าง หรือสนามของโรงเรียน การสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ในโรงเรียน การวัด การทำแผนที่ ฯลฯ
หากต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ภาคสนามนอกโรงเรียนอาจเลือกพาเด็กไปสำรวจบริเวณใกล้ๆ โรงเรียน เช่น ร้านค้า ถนน ป้ายต่างๆ บ้าน สนาม อาคาร โบราณสถาน สถานีขนส่ง ฯลฯ ทั้งนี้อาจจัดให้เด็กได้พูดคุยกับบุคคลซึ่งเป็นภูมิปัญญาในเรื่องนั้น ได้สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ใช้บริการสาธารณะ ฯลฯ
        การทำงานภาคสนามจะช่วยให้เด็กสร้างความรู้ใหม่จากประสบการณ์ตรง และเกิดการเชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ในห้องเรียน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น และช่วยให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิในการตอบปัญหาต่างๆ ด้วย

        3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation) การนำเสนอประสบการณ์ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตน สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจศึกษา การกำหนดคำถามที่จะนำไปสู่การสืบค้น การแสดงสิ่งที่เด็กๆ ได้เรียนรู้ เด็กๆ สามารถนำเสนอประสบการณ์ที่ตนเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ การเล่นบทบาทสมมติ การสร้างแบบจำลองต่างๆ ฯลฯ 
        เด็กจะมีโอกาสทบทวนข้อมูลที่รวบรวมจากการทำงานภาคสนาม เลือกวิธีการนำเสนอที่ทำให้เพื่อน ครู หรือพ่อแม่เข้าใจ เป็นโอกาสที่เด็กจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมด้วยความเข้าใจอย่างแท้จริง

        4. การสืบค้น (Investigation) การสืบค้นในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการสามารถใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลายตามเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆ อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นๆ ในขณะที่ไปทำงานภาคสนาม สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ที่ครูเชิญมาที่ห้องเรียน สังเกตและสำรวจวัตถุสิ่งของ วาดภาพโครงร่าง ใช้แว่นขยายส่องดูใกล้ๆ สัมผัสพื้นผิวต่างๆ และอาจเป็นการค้นหาคำตอบจากหนังสือในห้องเรียนหรือห้องสมุดก็ได้เช่นกัน

        5. การจัดแสดง (Display) ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นงานรายบุคคล หรืองานกลุ่มซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงไว้ตลอดทุกระยะของการดำเนินการตามโครงการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดหรือความรู้ให้เด็กทั้งชั้นเรียนได้เรียนรู้ การจัดแสดงช่วยให้เด็กและครูมีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของโครงการให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยือนรับรู้ด้วย
        โครงสร้างดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ ได้แก่


                      ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก 
 ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ
 ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ 

ระยะของโครงการ

 

กระบวนการ

ระยะที่ 1

ระยะที่ 2

ระยะที่ 3

การอภิปรายกลุ่ม

-แลกเปลี่ยนประสบการณ์

 เดิมและความรู้ (ขณะ

 ปัจจุบัน) เกี่ยวกับหัวเรื่อง

-การเตรียมการสำหรับงาน

 ภาคสนามและการสัมภาษณ์

-การทบทวนประสบการณ์

 จากงานภาคสนาม

-การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้

 ทุติยภูมิ

-การเตรียมการเพื่อการ

 แลกเปลี่ยนเรื่องราวเกี่ยวกับ

 โครงการ

-การทบทวนและประเมิน

 โครงการ

การทำงานภาคสนาม

-เด็กๆ พูดคุยกับพ่อแม่

 เกี่ยวกับประสบการณ์เดิม

-การออกไปนอกชั้นเรียน

 เพื่อสำรวจ (ภาคสนาม)

-การสัมภาษณ์ผู้รู้ในสนาม

 หรือในห้องเรียน

-การประเมินโครงการผ่าน

 สายตาของของผู้อื่น

การนำเสนอ

-การวาดภาพ การเขียน

 การสร้าง การเล่นสมมุติ

 ฯลฯ เพื่อแลกเปลี่ยน

 ประสบการณ์และความรู้

-การเขียนภาพโครงร่าง หรือ

 การบันทึกจากงาน

 ภาคสนาม

-การวาด ระบาย เขียน ทำ

 แผนภูมิ แผนที่ ฯลฯ เพื่อ

 นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้

-การกลั่นกรองและสรุป

 เรื่องราวที่ได้เรียนรู้เพื่อ

 แลกเปลี่ยนกับผู้อื่น

การสืบค้น

-การตั้งคำถามจากความรู้เดิม

-การตอบคำถามที่ตั้งไว้ใน

 ระยะแรก

-การค้นคว้าจากภาคสนาม

 หรือห้องสมุด

-การตั้งคำถามเพิ่มเติม

-การตั้งคำถามใหม่

การจัดแสดง

-การแลกเปลี่ยนสิ่งที่

 นำเสนอประสบการณ์เดิม

 เป็นรายบุคคล

-การแลกเปลี่ยนสิ่งที่

 นำเสนอจากประสบการณ์

 หรือความรู้ใหม่

-การบันทึกความก้าวหน้า

 ของโครงการ

-การสรุปการเรียนรู้ตลอดทั้ง

 โครงการ

                            การสอนแบบมอนเตสซอรี่

การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุก ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน

ที่มาของการสอนแบบมอนเตสซอรี่

ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ เป็นแพทย์หญิงคนแรกชาวอิตาลีและเป็นผู้คิดวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) โดยเริ่มจากการทำงานกับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จากการสังเกตอย่างใกล้ชิดและค้นคว้าทดลอง ทำให้ค้นพบว่าปัญหาของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาคือการดูแลเอาใจใส่ และคิดว่าการดูแลเด็กเหล่านี้ หากเด็กได้รับการกระตุ้นทางสติปัญญาน่าจะดีขึ้น มอนเตสซอรี่จึงคิดหาวิธีการที่จะช่วยเด็กให้มีพัฒนาการ ทางสติปัญญาและอารมณ์ให้ดีมากยิ่งขึ้น และได้มีการพัฒนาการสอนสำหรับเด็กปกติด้วย

การสอนแบบมอนเตสซอรี่

เริ่มจากการสังเกต ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัดทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาทสัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด การขัดและอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาการคิดอย่างมีระบบมีเหตุผล เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน

แนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม และอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์ เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน

การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิตให้กับเด็ก
การถูบ้านช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต

หลักการสอนของมอนเตสซอรี่

เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเอง คุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย

จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ โดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง

ช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ

การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน

การศึกษาด้วยตัวเอง เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง

การวัดประเมินผล คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผล โดยใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน

การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่

การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น จะเน้นการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน โดยมีคุณครูเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษา และกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยใช้จิตซึมซับกับสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงความสนใจความต้องการของเด็กในการเรียนรู้ ยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล และส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ โดยจะจัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะด้านกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่ช่วยให้เด็กรู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง

มอนเตสซอรี่ ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนด้วยตัวเองอย่างอิสระ
ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง

สิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสอนแบบมอนเตสซอรี่ที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง จากการที่เด็กได้สัมผัสกับงานที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน และการเรียนแบบมอนเตสซอรี่นั้นต้องจัดพื้นที่ว่างสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพื่อที่เด็กจะได้นั่งทำงานทั้งบนเก้าอี้และบนพื้น เพราะเด็กจะได้มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการจัดเก็บหรือวางอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ

อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่แต่ละชิ้นจะเน้นอยู่ที่การรับรู้โครงสร้างของอุปกรณ์ที่จัดไว้ โดยผ่านประสาทสัมผัสของการเคลื่อนไหว และในการจะใช้อุปกรณ์แต่ละชนิด คุณครูจะต้องเป็นผู้สาธิตการใช้อุปกรณ์ให้เด็กดูก่อน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจและอยากทำกิจกรรมกับอุปกรณ์นั้น ๆ อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีลำดับความยาก-ง่ายต่อเนื่องกันไป

ความยาก-ง่ายใน การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน
ความยาก-ง่ายในการทำกิจกรรมจะขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของเด็ก

หลักการที่สำคัญที่สุดของการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) สำหรับเด็กปฐมวัย คือ คุณครูต้องคำนึงถึงความต้องการของเด็ก ปลูกฝังให้เด็กเจริญเติบโตตามความต้องการตามธรรมชาติ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างอิสระ การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เชื่อว่า การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตัวเองและซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม จะช่วยทำให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ เด็กจะได้รับอิสระในขอบเขตที่ได้จัดเตรียมไว้ เมื่อเด็กได้รับผลสำเร็จตามความต้องการ จะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและสิ่งแวดล้อม

                                         การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ( Waldorf  Method)

                     การศึกษาปฐมวัย  เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็กปฐมวัย  ลักษณะของการจัดการศึกษาเน้นการดูแลควบคู่ไปกับการให้การศึกษา  รูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบมีจุดเด่นเฉพาะของรูปแบบที่ครูสามารถเลือกใช้หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียนของตน  

จุดสำคัญของการใช้รูปแบบอยู่ที่ครูเข้าใจมโนทัศน์ของรูปแบบ  แนวคิดพื้นฐาน  หลักการสอนวิธีจัดการเรียนการสอนการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บทบาทครู 

แนวคิดพื้นฐาน

        การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด  ความรู้สึก  และเจตจำนงของคน ๆ นั้น  หากเด็กได้อยู่ในบรรยากาศแห่งความต้องการ  ความรู้สึกสบายใจ  ความผ่อนคลาย  เด็กจะถ่ายทอดความคิดและการเรียนรู้อย่างแยบคลายร่วมไปกับการทำกิจกรรมที่เขากระทำอยู่

         รูดอล์ฟ  สไตเนอร์ ( Rudolf  Stiner ,  1861 – 1925 ) ได้จัดตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟ  ( Waldorf  School)  แห่งแรกขึ้นที่สตุทการ์ต  ประเทศเยอรมนี  เมื่อเดือนกันยายน  ค.ศ.  1919  โดยมีความเชื่อว่าการศึกษาคือการช่วยคนให้ดำเนินวิถีชีวิตแห่งตนที่ถูกต้องตามธรรมชาติ  ด้วยการให้เด็กทำกิจกรรมตามแต่ตนสนใจโดยมีครูและผู้ปกครองเป็นผู้ป้องกันเด็กจากการรบกวนของโลกสมัยใหม่และเทคโนโลยี  สิ่งที่เด็กสัมผัสต้องเป็นธรรมชาติที่บริสุทธ์

          แนวคิดของสไตเนอร์เน้นการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ  เพราะสไตเนอร์เชื่อว่าเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนได้ภายใต้การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องตกแต่งการสอนของครู  ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้อย่างนุ่มนวลและแทรกซึมไปกับความรู้สึกของเด็กตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสัมผัสกับเทคโนโลยี

หลักการสอน

      หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ  คือ  การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์              3  ประการ  ได้แก่  ความคิด  ความรู้สึก  และการกระทำ  โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก  ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง

วิธีจัดการเรียนการสอน 

 การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ  เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน  ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก  วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน  สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ  รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู  ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ  ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ

การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ 

   การเรียนรู้ของวอลดอร์ฟมาจากการซึมซับด้วยการสืบสานโดยตามธรรมชาติและตามธรรมชาติที่หล่อหลอมเข้าภายในตัวเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ  บรรยากาศการเรียนรู้รอบตัวเด็กทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนหรือกลางแจ้งต้องเป็นบรรยากาศที่งดงามตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์  ประกอบด้วยความสงบและอ่อนโยน

 บทบาทครู

     ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมเรียนรู้และการใช้ชีวิตอย่างธรรมชาติของเด็ก  งานของครูที่โรงเรียนคือการจัดการเรียนการสอนด้วยการเป็นตัวอย่าง  การจัดสิ่งแวดล้อมที่มีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย  ในขณะเดียวกันครูต้องเป็นผู้เชื่อมสานงานโรงเรียนสู่บ้านเพื่อสานภารกิจการสร้างพลังการเรียนรู้อย่างธรรมชาติให้เกิดขึ้นกับเด็ก

    ครูต้องทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของเด็กในการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  ครูมิใช่เป็นเพียงผู้ที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้  แต่ครูจะถ่ายทอดความคิด  ความรู้สึก  ความมุ่งมั่นและความรักอย่างแท้จริงให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้พบโอกาสของการพัฒนาศักยภาพภายในตนเองได้มากที่สุดและเต็มศักยภาพ

สรุป

   ข้อดีของการเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟ  ได้แก่  การใช้วิถีธรรมชาติเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นสะระหนึ่งที่สำคัญซึ่งครูสามารถนำไปประยุกต์สู่การสอนตามปกติได้  การใช้สื่อการเรียนรู้ธรรมชาติที่ไม่ใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปสามารถสร้างเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กมากกว่า  ครูควรให้ความสนใจกับการใช้อุปกรณ์ธรรมชาติให้เด็กได้สัมผัสและนำมาสร้างสรรค์การเรียนรู้ด้วนตนเอง

  

                      ภาพการนำเสนอรูปแบบการสอนของเพื่อนๆในห้องเรียน






ประเมิน

ตนเอง  ฉันได้รับความรู้รูปแบบการสอนจากที่เพื่อนนำเสนอ นอกจากรูปแบบที่ตนเองได้รับแล้ว

อาจารย์ เป็นผู้สอนที่ดีคอยชี้แนะเพิ่มเติมข้อมูลให้นักศึกษา








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

  วันที่16/11/63 วันนี้อาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบให้นักศึกษา และให้นักศึกษาเขียนวัตถุประสงค์ของแผนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิ...